วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การผูกแขนผูกข้อมือ ประเพณีไทยอีสาน

เมื่อพราหมณ์สูตรขวัญ จบแล้วญาติพี่น้องจะเอาข้าว ไข่ กล้วย ใส่มือเจ้าของขวัญ มือซ้ายหรือมือขวาก็ได้ให้พราหมณ์ผูกข้อมือให้ก่อนปกติจะผูกข้อมือซ้ายเพราะแขนซ้ายถือเป็นแขนขวัญ เป็นแขนที่อ่อนแอใช้งานหนักไม่ได้ เป็นแขนที่น่ารักทะนุถนอม ในเวลาผูกข้อมือนั้นทุกคนยื่นมือขวาออกไปพยุง (โจม) แขนของเจ้าของขวัญที่พราหมณ์กำลังทำพิธีผูกข้อมือให้ถ้าอยู่ห่างก็ยื่นมือจับแขนหรือแตะตัวกันต่อๆ มาเป็นเส้นสายเหมือน เชือกส่อแสดงถึงความสัมพันธ์ทางกายและใจเป็นอย่างยิ่ง แล้วตั้งจิตอธิฐานขอให้เจ้าของขวัญมีความสุขความเจริญเมื่อผูกข้อมือเสร็จให้ผู้เป็นเจ้าของขวัญประนมมือไหว้ผู้ให้พร เป็นการรับเอาพร

การรับขวัญ มีข้อห้าม ว่า
1. ห้ามสองคนผูกแขนข้างเดียวกันให้แก่ผู้รับการผูกแขนพร้อมกัน ผูกคนละข้างไม่ห้าม
2. ผู้รับการผูกแขนต้องหงายมือ ห้ามคว่ำเด็ดขาด เพราะผิดประเพณี คือเป็นการไม่รับขวัญ
3. ผู้ประคองขวัญทุกคนก็ให้หงายมือประคอง ห้ามคว่ำมือเด็ดขาด เพราะผิดประเพณีเช่นเดียวกัน
เมื่อพราหมณ์ผูกเสร็จแล้ว ต่อไปก็เป็นโอกาสของญาติมิตรทั่วๆไปจะเข้ามาผูกข้อมือให้กับเจ้าของขวัญ ด้ายผูกแขน (ด้ายผูกข้อมือ) ถือเป็นของดี ของศักดิ์สิทธิ์ควรรักษาไว้อย่าพึ่งดึงทิ้ง ให้ล่วง 3 วันเสียก่อนจึงดึงออกเวลาทิ้งอย่าทิ้งลงที่สกปรก เพราะด้ายผูกแขนเป็นของขาวของบริสุทธิ์ เป็นจุดรวมแห่งจิตใจบริสุทธิ์หลายดวงจึงควรรักษาไว้ให้ดี ผู้เฒ่าผู้แก่เคยเล่าให้ฟังว่าด้ายผูกแขนที่เก็บรักษาไว้เป็นของศักดิ์สิทธิ์ ป้องกันอันตรายได้เช่น มีโจรมาปล้น อธิฐานขอให้จิตทุกดวงช่วยก็ปลอดภัยจากอันตรายได้และเป็นเสน่ห์ดึงดูดจิตใจให้คนรัก-ใคร่ชอบพอได้ การผูกแขน (ผูกข้อมือ) การผูกแขนที่จะอำนวยประโยชน์สุขให้แก่เจ้าของ
ขวัญควรประกอบด้วยองค์ 4 คือ
1.ผู้ผูก หรือพราหมณ์
2.ผู้รับผูก หรือเจ้าของขวัญ
3.ผู้เกี่ยวข้อง คือญาติมิตร
4. คำกล่าวขณะที่ผูก คำกล่าวขณะที่ผูกเป็นคำเรียกร้องเชิญขวัญซึ่งเป็น
คำที่ไพเราะ อ่อนหวาน สุภาพ เรียบร้อยมีความหมายไปในทางที่ดีงาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มะม่วงหาว มะนาวโห่ เชื่อม

ลองทำมะม่วงหาว มะนาวโห่ เชื่อม แบบไม่แกะเมล็ดออก ผลที่ได้รับ คือมีความขมเพียงเล็กน้อย แบบเกือบยอมรับได้ สีสวย ใช้ได้ แต่ส่วนตัวยังไม่พอ...